การพัฒนามาตรฐานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่มุ่งเน้นการส่งเสริมเด็ก

Authors

  • ทินกฤต อรรถโกวิทธาตรี ( Tinnakrit Atthakowitthatree)
  • ดุษฎี โยเหลา (Dusadee Yolao)
  • อรพินทร์ ชูชม (Oraphin Choochom )
  • ไพรวัลย์ พิทักษ์สาลี (Praiwan Pithaksalee)

Abstract

The purposes of this research were: 1) to develop the education standards and indicators by studying case of the education for the gifted students of mathematic, sciences, and technology  2) to develop the standards and indicators evaluation model by PDCA Cycle. Research procedures are two phases. The phases I is using EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research). The phases II  using Participatory Evaluation and  staff empowerment  in  PDCA Cycle. The results of this research study revealed that; 1) The standards and indicators for the gifted students are consisted of 7  standards factors plus  88  indicators 2) The overview of evaluation for internal quality development can implement by PDCA Cycles including to the participatory evaluation. The principal should encourage teachers and students to involve with the school research. According to Stufflebeam’s theory, 1981, there are 4 areas of self assessment consisting  are well and excellent 3) On the process to develop the standards and indicators evaluation model by PDCA Cycle, internal quality assurance will be need to cooperative by teachers, students and with all the stakeholders in the school. Keywords : education quality assurance,  Gifted Children standard,  participatory evaluationบทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนามาตรฐานและตัวบ่งชี้ในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 2) เพื่อสร้างรูปแบบการประเมินมาตรฐานและตัวบ่งชี้ด้วยวงจรบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพภายใน  โดยแหล่งข้อมูลที่ศึกษาเป็นโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยพิษณุโลก  ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนามาตรฐานและตัวบ่งชี้ในการจัดการศึกษาและสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ประกอบไปด้วย 7 มาตรฐาน 88 ตัวบ่งชี้  2) สร้างรูปแบบการประเมินมาตรฐานและตัวบ่งชี้ด้วยวงจรบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพภายใน โดยใช้วงจร PDCA  และแนวคิดการประเมินแบบมีส่วนร่วม สองวงรอบพบว่าผลการประเมิน 4 มิติของสตัฟเฟิ้ลบีม (Stufflebeam, 1981) มีความเหมาะสมมากที่สุด 3)รูปแบบการประเมินมาตรฐานและตัวบ่งชี้ด้วยวงจรบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพภายใน จะต้องดำเนินการโดยคณะครู นักเรียน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อร่วมประเมินในทุกขั้นตอน คำสำคัญ: การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน  มาตรฐานนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ  การประเมินแบบมีส่วนร่วม 

Downloads

Published

2011-09-27

Issue

Section

บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์