รูปแบบการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โดยกระบวนการการมีส่วนร่วม
Abstract
This research aims to study domestic violence provisions in community, to develop prevention model, and to investigate effect of prevention model of domestic violence in community by participation process. Setting is a community in Pathumthani province. Research procedures by Participatory Action Research with ten community leaders participation. Research results are: 1) Verbal violence is the highest frequency, followed by physical, mental, and sexual respectively. Family risk violence level is the highest, and the communities with limited area, slum, and low income reveal all kinds of domestic violence. Its causes come from personal and socioeconomic conditions. 2) The prevention method is developed by two cycles. Firstly, community leaders and family mainstays are developed. The results have shown that there is cooperation among many parts of community which makes community leaders gain more knowledge, understanding, and problem analysis thinking skill, and family mainstays change behaviors into positive way. Secondly, at risk families are developed and communication to community. The results have shown that community cooperation is created which makes perception and alerting in community. Moreover, some at risk families understand problem and tend to modify their behavior to prevention. 3) Effects of prevention model are behavior changing in community leaders, family mainstays, at risk families, and also some people. And getting cooperation networking model, and violence prevention model for audiences in each level of community from community-based research method. Keywords : domestic violence, prevention model, participation processบทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความรุนแรงในครอบครัวของชุมชน และพัฒนารูปแบบการป้องกันปัญหาด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วม รวมทั้งศึกษาผลการใช้รูปแบบการป้องกันปัญหาที่ได้พัฒนาขึ้น โดยมีชุมชนแห่งหนึ่งของจังหวัดปทุมธานีเป็นพื้นที่ศึกษา สำหรับวิธีการวิจัย เป็นงานวิจัยที่ใช้ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนา ด้วยรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยความร่วมมือของผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน ผลวิจัย พบว่า 1) ชุมชนที่ศึกษามีสภาพความรุนแรงในครอบครัวทางวาจามากที่สุด รองลงมาคือทางร่างกาย ทางจิตใจ และทางเพศ ตามลำดับ โดยจำนวนครอบครัวที่มีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดปัญหามีมากที่สุด และพบว่าชุมชนย่อยที่มีพื้นที่จำกัด แออัด และมีสภาพทางเศรษฐกิจไม่ดี จะมีปัญหาในทุกรูปแบบ โดยสาเหตุมาจากสภาพภายในตัวบุคคลและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม 2) การพัฒนารูปแบบการป้องกันปัญหา ดำเนินการใน 2 วงรอบ ในวงรอบแรกได้พัฒนาผู้นำชุมชนและครอบครัวแกนนำ การสังเกตและสะท้อนผล พบว่า ผู้นำชุมชนมีความรู้ เข้าใจ และมีทักษะในการคิดวิเคราะห์ปัญหา และครอบครัวแกนนำมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางบวก สำหรับในวงรอบที่ 2 ได้พัฒนาครอบครัวเสี่ยงและรณรงค์ในชุมชน การสังเกตและสะท้อนผลพบว่า คนในชุมชนรับรู้และตื่นตัวในปัญหา และครอบครัวเสี่ยงบางส่วนเข้าใจปัญหาและมีแนวโน้มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางป้องกันปัญหา และ 3) ผลการพัฒนารูปแบบการป้องกันปัญหา เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในตัวผู้นำชุมชน ครอบครัวแกนนำ ครอบครัวเสี่ยง และประชาชนในชุมชนบางส่วน และได้รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการป้องกันปัญหา และรูปแบบการใช้ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนาเพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว คำสำคัญ: ความรุนแรงในครอบครัว รูปแบบการป้องกันปัญหา กระบวนการการมีส่วนร่วมDownloads
Published
2011-09-27
Issue
Section
บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์