การอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดากับการเกิดภาวะอ้วนในเด็ก

Authors

  • นริสรา พึ่งโพธิ์สภ (Narisara Peungposop)

Abstract

Due to rapid changes in the tremendous figure of childhood obesity, researchers in public health and related sciences turn to concentrate on causes from the family environment especially on parental child’s rearing practices and parental feeding styles. Parents can have impact on their children’s dietary behavior, habits, and attitude toward dietary through parenting practices.  This article aimed to investigate literature review on the impact of child rearing practices on childhood obesity. 14 Appetite articles related to child’s rearing practices and obesity in children and youth within 10 years were reviewed. The results indicated that authoritative, supportive, and reasoning have positive relation to appropriate childhood dietary behavior and according to nutritional rules. In addition, these practices also balanced children and youth’s weight status. Authoritarian, control, and strictness practices have adverse outcomes. Overeating, inappropriate dietary and obesity were affected by those child’s rearing practices. Suggestion based on findings proposes that authoritative parenting using authoritative, supportive and reasoning is the desirable child rearing practices for proper childhood dietary behavior and normal weight status. Keywords:  child rearing practice, obesity,  children’s dietary behaviorบทคัดย่อการระบาดของภาวะอ้วนในเด็กเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้นักวิจัยด้านการแพทย์สาธารณสุข และสาขาที่เกี่ยวข้องให้ความสนใจศึกษาสาเหตุด้านสิ่งแวดล้อมในครอบครัวโดยเฉพาะการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดา และการปฏิบัติต่อเด็กด้านโภชนาการ เนื่องจากบิดามารดามีบทบาทสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมการกินของเด็ก รวมทั้งลักษณะนิสัย และเจตคติต่อการกิน  ซึ่งบทความนี้เป็นการประมวลงานวิจัยเกี่ยวกับวิธีการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดาที่สัมพันธ์กับภาวะอ้วนของเด็กในประเทศไทย เพื่อให้ได้องค์ความรู้ว่าวิธีการเลี้ยงดูแบบใดทำให้เด็กมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอ้วน รวมทั้งบทความงานวิจัยต่างประเทศในวารสาร Appetite ช่วง 10 ปี จำนวน 14 เรื่อง ผลการประมวลงานวิจัยปรากฏข้อค้นพบว่า การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย แบบรักสนับสนุน และแบบใช้เหตุผลส่งผลทางบวกต่อพฤติกรรมการกินที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักโภชนาการ และทำให้ภาวะน้ำหนักตัวของเด็กอยู่ในเกณฑ์ปกติ   ในทางตรงกันข้าม การอบรมเลี้ยงดูแบบเผด็จการ แบบควบคุม และแบบเข้มงวดส่งผลทางลบต่อพฤติกรรมการกินที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักโภชนาการ ซึ่งส่งผลให้เด็กมีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วน  ดังนั้น การเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย แบบรักสนับสนุน และแบบใช้เหตุผลอธิบายเพื่อให้เด็กคล้อยตาม เป็นวิธีการเลี้ยงดูของบิดามารดาที่พึงปรารถนาเพราะทำให้เด็กมีพฤติกรรมการกินที่เหมาะสมและมีน้ำหนักตัวที่ปกติ คำสำคัญ: การอบรมเลี้ยงดูเด็ก   ภาวะอ้วน  พฤติกรรมการกินของเด็ก

Downloads

Published

2011-09-27

Issue

Section

บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์