ปัจจัยเชิงเหตุและผลของพฤติกรรมติดอินเทอร์เน็ตของ นักเรียนมัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร
Abstract
The purpose of this study was to develop the causal relation structural model among antecedents affecting high school students’ internet dependency behavior. The study sample was 1,248 students by multi-stage sampling. Instruments for collecting data were 12 questionnaires (α = 0.75 to 0.94). Data was analyzed by descriptive statistics and LISREL. The results were as follows; 1) The causal relation structural model of high students’ internet dependency behavior was modified to fit with the empirical data (2 = 22.87, df = 16, p = 0.12, CFI=1, GFI = 1, RMSEA = 0.02, CN =1,608). 2) Online gaming addiction behavior was directly negatively affected by self-control, self-esteem and influence of peer on suitable internet usage. Moreover, it was directly positively affected by controlling internet usage from family and loneliness. These variables together predicted online gaming addiction behavior at 34 percent. 3) Online chatting addiction behavior was directly negatively affected by self-control, influence of peer on suitable internet usage and modeling of parents with media consumption. In addition, it was directly positively affected by participation in suitable activities among peer. These variables together predicted online chatting addiction behavior at 22 percent 4) Appropriate learning behavior was directly negatively affected by online gaming addiction and online chatting addiction behavior. Also, It was directly positively affected by self-control, self-esteem, participation in suitable activities among peer and family relationship. It was indirectly negatively affected by 1) controlling internet usage from family and loneliness through online gaming addiction behavior 2) participation in suitable activities among peer through online chatting addiction behavior. It was indirectly positively affected by 1) self-control and influence of peer on suitable internet usage through online chatting addiction behavior and online gaming addiction behavior, 2) self-esteem through online gaming addiction behavior 3) modeling of parents with media consumption through online chatting addiction behavior. These variables together predicted appropriate learning behavior at 43 percent.บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบแบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยเหตุและผลของพฤติกรรมติดอินเทอร์เน็ตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 1,248 คนได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม 12 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ .75 - .94 และวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณาด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบจำลองพฤติกรรมติดอินเทอร์เน็ตของนักเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2 = 22.87; df = 16; p-value = .12; CFI = 1; GFI = 1; RMSEA = .02; CN = 1,608) 2) พฤติกรรมติดเกมออนไลน์ได้รับอิทธิพลทางลบโดยตรงจากการควบคุมตน การเห็นคุณค่าในตนเอง และอิทธิพลของเพื่อนในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเหมาะสม และพฤติกรรมติดเกมออนไลน์ได้รับอิทธิพลทางบวกโดยตรงจากการควบคุมอินเทอร์เน็ตในครอบครัว และความเหงา ตัวแปรสาเหตุนี้ร่วมกันอธิบายพฤติกรรมติดเกมออนไลน์ได้ร้อยละ 34 3) พฤติกรรมติดสนทนาออนไลน์ ได้รับอิทธิพลทางลบโดยตรงจากการควบคุมตน อิทธิพลของเพื่อนในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเหมาะสม และการได้รับแบบอย่างจากผู้ปกครองในการรับสื่อ และพฤติกรรมติดสนทนาออนไลน์ได้รับอิทธิพลทางบวกโดยตรงจากกิจกรรมเหมาะสมที่ทำร่วมกับเพื่อน ตัวแปรสาเหตุนี้ร่วมกันอธิบายพฤติกรรมติดสนทนาออนไลน์ได้ร้อยละ 22 และ4) พฤติกรรมการเรียนที่เหมาะสม ได้รับอิทธิพลทางลบโดยตรงจากพฤติกรรมติดเกมออนไลน์และพฤติกรรมติดสนทนาออนไลน์ และได้รับอิทธิพลทางบวกโดยตรงจากการควบคุมตน การเห็นคุณค่าในตนเอง กิจกรรมเหมาะสมที่ทำร่วมกับเพื่อน และ สัมพันธภาพในครอบครัว พฤติกรรมการเรียนที่เหมาะสมได้รับอิทธิพลทางลบโดยอ้อมจากความเหงาและการควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ตในครอบครัวโดยผ่านพฤติกรรมติดเกมออนไลน์ และตัวแปรสาเหตุนี้ร่วมกันอธิบายพฤติกรรมการเรียนที่เหมาะสมได้ร้อยละ 43 คำสำคัญ : พฤติกรรมติดอินเทอร์เน็ต เกมออนไลน์ สนทนาออนไลน์Downloads
Published
2011-09-27
Issue
Section
บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์