ปัจจัยเชิงเหตุที่มีต่อเอกลักษณ์และพฤติกรรมตามบทบาทของนักศึกษาวิทยาศาสตร์ในโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (โครงการ พสวท.) (Antecedents Concerning Student’s Identity and Role Performance in the Development and ... )

Authors

  • ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ (Pinyapan Roamchart)
  • ดุษฎี โยเหลา (Dusadee Yaelao)
  • สมศักดิ์ สีดากุลฤทธิ์ (Somsak Seedagulrit)

Abstract

          The purposes of this study were 1) to develop linear structural relations among antecedents concerning student's identity and role performance in the development and promotion of science and technology talents project (DPST), 2) to examine co-interaction between interactional commitment and affective commitment for the explanation of identity salience, and 3) to compare identity salience and esteem between different periods of participating in the DPST project and they were studying at universities in Thailand. The study sample was 188 third-year and fourth-year science students in the DPST project. Instruments for collecting data were questionnaires. SPSS for window and LISREL program were used to analyze data. The results showed that linear structural relation model among antecedents concerning student's identity and role performance in the DPST project was fitted with the empirical data. Regarding interaction between interactional commitment and affective commitment, no interaction between these two variables was found. Finally, it was demonstrated that there were no significant differences in identity salience and esteem between different periods of participating in the DPST project.Keywords: identity, role performance, interactional commitment, affective commitment, identity salience, science students บทคัดย่อ           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้  1)  เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยเชิงเหตุที่มีต่อเอกลักษณ์และพฤติกรรมตามบทบาทของนักศึกษาวิทยาศาสตร์ในโครงการ  พสวท.  2) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันด้านปฏิสัมพันธ์และความผูกพันด้านอารมณ์ที่ส่งผลต่อความเด่นของเอกลักษณ์ของนักศึกษาวิทยาศาสตร์  3) เพื่อเปรียบเทียบความเด่นของเอกลักษณ์ของนักศึกษาวิทยาศาสตร์และความภาคภูมิใจในบทบาทของนักศึกษาวิทยาศาสตร์ที่มีช่วงเวลาของการเข้าร่วมโครงการ พสวท. แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศชั้นปีที่ 3 และ 4 ปีการศึกษา 2550 ซึ่งอยู่ในโครงการ พสวท. จำนวน 188 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้โปรแกรมสำร็จรูป SPSS และใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยเชิงเหตุที่มีต่อเอกลักษณ์และพฤติกรรมตามบทบาทของนักศึกษาวิทยาศาสตร์ในโครงการ พสวท. มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์หลังจากการปรับโมเดล ส่วนผลการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันด้านปฏิสัมพันธ์และความผูกพันด้านอารมณ์ที่ส่งผลต่อความเด่นของเอกลักษณ์ของนักศึกษาวิทยาศาสตร์ พบว่า ไม่มีปฏิสัมพันธ์ และผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของความเด่นของเอกลักษณ์ของนักศึกษาวิทยาศาสตร์และความภาคภูมิใจในบทบาทของนักศึกษาวิทยาศาสตร์จำแนกตามช่วงเวลาของการเข้าร่วมโครงการ พสวท. พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันคำสำคัญ: เอกลักษณ์  พฤติกรรมตามบทบาท  ความผูกพันด้านปฏิสัมพันธ์  ความผูกพันด้านอารมณ์  ความเด่นของเอกลักษณ์  นักศึกษาวิทยาศาสตร์

Downloads