ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจสังกัดกรุงเทพมหานครภายใต้ระบบการบริหารจัดการแนวใหม่ตามหลักธรรมาภิบาล (Factors Affecting Work Behavior under the New Public Management System According to the Good Governance Principles ... )
Authors
ชัญญา ลี้ศัตรูพ่าย (Chanya Leesattrupai)
วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี (Wiladlak Chuawanlee)
อรพินทร์ ชูชม (Oraphin Choochom)
นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล (Numchai Supparerkchaisakul)
Abstract
The purpose of this study was to examine a causal relation model of work behavior of city law enforcement officers at Bangkok Metropolitan Administration under the New Public Management System concerning good governance. The sample consisted of 754 city law enforcement officers by multi-stage sampling; 368 government officers and 386 employees. Raw data collect by questionnaires. LISREL was used to analyze the data. The results revealed that The proposal model fit the empirical data. Most of path coefficients were statistically significant at 0.05 levels. For work behavior under the new public management system, the variables having positive and direct effects were attitude to work behavior, work role model and job satisfaction. In addition, attitude to work behavior played as mediating variable of the indirect effects from future orientation and self-control characteristics, moral reasoning, work role model and perceived patronage relations. All of these variables had positive effects except perceived patronage relations having negative direction. Perceived organizational justice also had positive and indirect effect on work behavior through job satisfaction. These variables accounted for 50 percent of the variance of work behavior. For attitude to work behavior, the variables having positive and direct effects were future orientation and self-control characteristics, moral reasoning and work role model. Perceived patronage relations also had direct effect on the attitude but on the negative direction. Fifty-one percent variance of the attitude was explained by all these variables. For job satisfaction, there were only two variables having direct effects but in opposite directions; the effect of perceived organizational justice was positive whereas that of role conflict was negative. Eighty-one percent variance of job satisfaction was explained by these two variables.Keywords: work behavior, city law enforcement officers, good governance บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการทำงานภายใต้ระบบการบริหารจัดการแนวใหม่ตามหลักธรรมาภิบาล ของเจ้าหน้าที่เทศกิจสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่เป็นข้าราชการทั้งหมด 368 คน และพนักงานประจำทั้งหมด 386 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการทดสอบเส้นทางอิทธิพล พบว่า พฤติกรรมการทำงานได้รับอิทธิพลทางบวกโดยตรงจากเจตคติ การมีแบบอย่าง และความพึงพอใจ และได้รับอิทธิพลทางบวกโดยอ้อมจากลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน เหตุผลเชิงจริยธรรม การมีแบบอย่าง และได้รับอิทธิพลทางลบโดยอ้อมจากการรับรู้ความสัมพันธ์ระบบอุปถัมภ์ ผ่านเจตคติ และได้รับอิทธิพลทางบวกโดยอ้อมจากการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ ผ่านความพึงพอใจ โดยตัวแปรเหล่านี้ร่วมกันอธิบายพฤติกรรมการทำงานได้ร้อยละ 50 และได้รับอิทธิพลทางลบโดยตรงการรับรู้ความสัมพันธ์ระบบอุปถัมภ์ ซึ่งตัวแปรทั้งหมดร่วมกันสามารถอธิบายเจตคติได้ร้อยละ 51 และเจตคติต่อพฤติกรรมการทำงานภายใต้ระบบการบริหารจัดการแนวใหม่ตามหลักธรรมาภิบาล ได้รับอิทธิพลทางบวกโดยตรงจากลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน เหตุผลเชิงจริยธรรม การมีแบบอย่างในการทำงาน ส่วนความพึงพอใจในการทำงาน ได้รับอิทธิพลทางบวกโดยตรงจากการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และได้รับอิทธิพลทางลบโดยตรงความขัดแย้งในบทบาท ซึ่งทั้งสองตัวแปรร่วมกันสามารถอธิบายความพึงพอใจในการทำงานได้ร้อยละ 81 คำสำคัญ: พฤติกรรมการทำงาน เจ้าหน้าที่เทศกิจ ธรรมาภิบาล