ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายและพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทของผู้ดูแล (Factors Affecting Burnout and Care Behavior of Caregivers of Schizophrenic Patients)

Authors

  • มยุรี กลับวงษ์ (Mayuree Glubvong)
  • ผจงจิต อินทสุวรรณ (Pachongchit Intasuwan)
  • วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี (Wiladkak Chuawanlee)
  • นันทิกา ทวิชาชาติ (Nantika Thavichachart)

Abstract

          The main purpose of the research is to develop the model of relationships between burnout and care behaviors of caregivers of Schizophrenic patients. The exogenous latent variables are the variables associated with  caregivers personalities, care environment factors  and other hidden factors such as burnout and care behaviors toward patients.              The subjects consist of 375 caregivers who were randomly selected by a simple random sampling. Self rating questionnaires consisting of e.g. bio-social data, Maudsley Personality Inventory (MPI), Stress test, Coping Strategy questionnaires, Schizophrenia Self care Behavior Assessment questionnaires, Maslach Burnout Inventory and Care Behavior questionnaires are used to collect all of the data. Social statistic package is used to analyze descriptive statistics of the data .    LISREL is performed to analyze exploratory factor analysis , confirm factor analysis and to test structural relationship between the proposed model and the empirical data.          The results of the study revealed that the relationships between the variables on burnout and care behaviors of caregivers are statistically significant at p-value = 0.05 for all variables.       The model' s overall fit are accepted; Chi-square statistic (c2) = 325.56, df = 312, p-value = 0.29; RMSEA  = 0.011; SRMR = 0.054; GFI (Goodness-of-fit index) = 0.95; AGFI  = 0.91; CN = 414.72.  It also show that personalities of a caregiver are the most influential factor for mental stress.    Mental stress directly relates to burnout. Coping strategy of the caregivers effects care behaviors.  In the case of care environment factors, care duration has a negative effect to mental stress of caregivers. Patient's conditions have a direct effect on mental stress of caregivers.  Capabilities for self-care operations of schizophrenic patients have a negative effect to burnout. Social support directly influences the care strategy of caregivers. Burnout has a negative effect  to behaviors of  caregivers.Keywords: Burnout, Care behavior, Schizophrenic patient บทคัดย่อ           การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเหนื่อยหน่ายและพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วยตัวแปรแฝงภายนอก ได้แก่ ตัวแปรในกลุ่มปัจจัยภายในบุคคลของผู้ดูแล ตัวแปรในกลุ่มปัจจัยสภาพแวดล้อมการดูแลผู้ป่วย และตัวแปรแฝงภายใน ได้แก่ ความเหนื่อยหน่าย และพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วย           กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท ที่พาผู้ป่วยมารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 375 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดให้ตอบด้วยตัวเอง ทั้งหมด 8 สวน ได้แก่ ลักษณะทางชีวสังคมของผู้ดูแลและสภาวะการเจ็บป่วยด้วยโรคจิตเภทของผู้ป่วย แบบวัดบุคลิกภาพ MPI แบบวัดความเครียด แบบวัดกลวิธีจัดการกับปัญหา แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย แบบวัดการได้รับการสนับสนุนทางสังคม แบบวัดความเหนื่อยหน่าย และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสังคมศาสตร์ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่างและตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ใช้โปรแกรม LISREL ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และตรวจสอบความสอดคล้องของแบบจำลองสมมติฐานเชิงทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์            ผลการวิเคราะห์ข้อมูลชี้ให้เห็นว่า แบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเหนื่อยหน่ายและพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยเส้นอิทธิพลมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกตัวแปร   รวมทั้งค่าการทดสอบความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ทุกค่า    โดยแบบจำลองสุดท้ายมีค่าสถิติดังนี้      ค่าไค-สแควร์ (c2) มีค่า = 325.56, df = 312, p-value = 0.29;  RMSEA = 0.011;   SRMR = 0.054;    GFI = 0.95; AGFI = 0.91; CN = 414.72 สำหรับอิทธิพลของตัวแปรสาเหตุในกลุ่มปัจจัยภายในบุคคลของผู้ดูแลต่อตัวแปรผล พบว่า ตัวแปรบุคลิกภาพ มีอิทธิพลทางตรงต่อความเครียดของผู้ดูแลมากที่สุด นั่นคือบุคลิกภาพของผู้ดูแลที่ต่างกันจะส่งผลให้มีระดับความเครียดต่างกัน  นอกจากนี้ผู้ดูแลที่มีความเครียดสูงก็จะเกิดความเหนื่อยหน่ายสูงด้วย และถ้าผู้ดูแลมีกลวิธีการจัดการกับปัญหาด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพจะส่งผลให้พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยสูงขึ้น ส่วนอิทธิพลของตัวแปรสาเหตุในกลุ่มปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการดูแลผู้ป่วยต่อตัวแปรผล พบว่า ผู้ดูแลที่มีระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยไม่นานจะมีความเครียดสูง แต่ผู้ดูแลที่ให้การดูแลผู้ป่วยเป็นระยะเวลานานมากขึ้นจะส่งผลให้ความเครียดจะลดลง   และ การเจ็บป่วยด้วยโรคจิตเภทของผู้ป่วยที่เป็นมานานหรือมีมากจะส่งผลให้ผู้ดูแลมีความเครียดสูง ส่วนผู้ป่วยที่มีความสามารถในการดูแลตนเองสูงจะส่งผลให้ความเหนื่อยหน่ายของผู้ดูแลลดลง   ผู้ดูแลที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมสูงจะส่งผลให้ผู้ดูแลมีวิธีการจัดการกับปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ และความเหนื่อยหน่ายมีอิทธิพลทางตรงในทางลบต่อพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทของผู้ดูแล นั่นคือ ผู้ดูแลที่มีความเหนื่อยหน่ายสูงจะส่งผลให้พฤติกรรมการดูแลต่ำลงคำสำคัญ: ความเหนื่อยหน่าย  พฤติกรรมการดูแล  ผู้ป่วยโรคจิตเภท 

Downloads