การบริหารจัดการและประเมินโครงการเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของหน่วยงานในเขตกรุงเทพมหานคร (Project Management and Evaluation for Health Behavior Change of the Organizations in Bangkok Metropolis)
Authors
อังศินันท์ อินทรกำแหง (Ungsinun Intarakamhang)
อรพินทร์ ชูชม (Oraphin Choochom)
วรสรณ์ เนตรทิพย์ (Worasorn Netthip)
พัชรี ดวงจันทร์ (Patcharee Duangchan)
Abstract
The objectives of this evaluative research were: 1) to develop an evaluation and management model for health behavior change projects of the organizations in Bangkok metropolis, 2) to develop the conceptual framework for health behavior change base on principles of PROMISE Model and 3 Self, 3) to explore the outcomes of supervision and evaluation for health behavior change projects conducted by the participated organizations in Bangkok area, according to the project indicators, and 4) to study factors affecting project success and barrier to the project implementation. Totally,32 health behavior change projects conducted by 19 organizations in Bangkok area; these were managed and evaluated during May - December, 2008. The sample was 3,665 outpatients and unhealthy lifestyle people who were at risk for chronic diseases. Three study instruments were: 1) a 21-item questionnaire, in forms of a 4-point rating scale, 2) a structured interviewing form based on CIPP model to collect data from 3 groups of respondents, including 32 project leaders, 29 commanders of project leaders, and 128 clients, and 3) health behavior questionnaires for assessing 3 Self including self-efficacy, self-regulation, and self-care. The reliability of this 3 Self questionnaires was between 0.73 and 0.85. Research findings were as follows: 1. During project implementation, it was found that results from supervision and evaluation of the feasibility for project success based on CIPP Model revealed that opinions on the context, input, process, and product were at the very good level in total among 3 groups of respondents; including project leaders, commanders of project leaders, and clients. 2. After the project completion, 3 SELF health behaviors of the participants were statistically significant higher than before their participation at .01 level. 3. After the project completion, the participants had a better change according to the project indicators which were as follows: 1) bodily exercise behavior, 2) eating behavior, health knowledge, attitudes toward project, and health behaviors were statistically significant higher than those before participating in the project at 0.01 level, 3) Systolic blood pressure, diastolic blood pressure, waist, weight, BMI, fasting blood glucose, and amount of cigarettes smoking per day were statistically significant lower than those before participating in the project, and 4) the indicators revealed a reduction in body fat, but this change was not statistically significant.Keywords: Project Management, Evaluation, Health Behavior Change บทคัดย่อ ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประเมินผลโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการประเมินและการบริหารจัดการโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของหน่วยงาน 2) เพื่อสร้างกรอบแนวคิดตามหลัก PROMISE และ 3 Self ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของหน่วยงาน ในช่วงเดือนพฤษภาคม - ธันวาคม 2551 มีจำนวน 32 โครงการ จาก 19 หน่วยงานที่ให้บริการ โดยมีผู้รับบริการเป็นผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง รวม 3,665 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 4 ระดับรวม 21 ข้อและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ตามรูปแบบซิป (CIPP model) ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มหัวหน้าโครงการ 32 คนกลุ่มผู้บังคับบัญชาของหัวหน้าโครงการ 29 คนและผู้เข้ารับบริการ 128คน และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ 3 Self ได้แก่ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเอง (Self-efficacy) แบบสอบถามการกำกับพฤติกรรมสุขภาพตนเอง(Self-regulation) แบบสอบถามการดูแลสุขภาพตนเอง (Self- care) มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.73-0.85 ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการนิเทศและประเมินระหว่างดำเนินโครงการตามความเห็นของทั้ง 3 กลุ่ม มีสอดคล้องกันทั้ง 4 ด้านคือ ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้ากระบวนการและผลลัพธ์โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก 2. ภายหลังสิ้นสุดโครงการ ผู้รับบริการมีพฤติกรรมสุขภาพ 3 Self สูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผู้เข้าร่วมโครงการมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ได้แก่ พฤติกรรมการบริหารร่างกาย การรับประทานอาหาร ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติด้านสุขภาพ สูงกว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และมีค่าความดันโลหิต รอบเอว น้ำหนักตัว ค่า BMI ระดับน้ำตาล ไขมันในเลือด จำนวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน ต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 คำสำคัญ: การบริหารจัดการโครงการ การประเมินผล การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ