A Study of Persuasive Communication Efficiency in Bicycling Promotion to High School Students in Nan City
Abstract
การศึกษาประสิทธิภาพของการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจในการส่งเสริม การใช้จักรยานที่มีต่อนักเรียนมัธยมในเมืองน่านAbstract The research aimed to study communication types used in Nan city, to evaluate communication types that affected the secondary school students’ bicycling use, and to propose the effective cycling activities or projects for the further cycling campaigns. The secondary school students, totally 398, were purposively selected from Nan Christian Suksa school and Satrisrinan school. The instrument of the study consisted of the observation, the in-depth interview, the documentary study, and the questionnaire. The collected data were analyzed using mean, percentage, and standard deviation; and the content analysis was employed for the interview data. The findings revealed the following: Communications concerning bicycling promotion in Nan city were successful in creating positive attitudes towards the secondary school students’ bicycling use in terms of the environmental friendliness, the cost saving, and the health; while the available communications failed to create the sense of conveniences, safety, and fastness. Therefore, bicycling use was mostly for sports, fun and recreation; whereas a few were for main students’ activities: some private activities, buying things at local shops, or going to school. Although the rate of students’ bicycle use is high, it is likely to decline, that is necessary to find a solution. Communication models affected to the bicycling promotion differently. The effective model included the bicycling use in the community’s daily life; and the bicycling infrastructure such as the bicycling lane, the signage at the gateway, and bicycle rental shop, for the perception and recognition stage; the community bicycling use, the parents and friends’ supports the accept and agreement stage. However, the finding was unable to identify the effectiveness of the communication types in the third stage. Keywords: Persuasive Communication, Bicycle, Nan cityบทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารแบบต่างๆ ที่ปรากฏในเขตเทศบาลเมืองน่าน เพื่อประเมินรูปแบบการสื่อสารแบบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลในการเลือกใช้จักรยานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา และเพื่อเสนอแนวทางในการจัดกิจกรรมหรือโครงการเพื่อส่งเสริมการใช้จักรยาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาโรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษาและโรงเรียนสตรีศรีน่าน จำนวน 398 คน ซึ่งได้มาโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้สูตร Yamane (1967) และการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selected Sampling) เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การสืบค้นเอกสาร และแบบสอบถาม ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ตัวแปรต้น คือ รูปแบบการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ และตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพของสื่อในการโน้มน้าวใจด้านการรับรู้ ด้านการยอมรับ และด้านการยอมรับปฏิบัติ ระยะเวลาวิจัย 5 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารด้านจักรยานในเมืองน่านประสบความสำเร็จในการสร้างทัศนคติด้านบวกต่อการใช้จักรยานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลเมืองน่าน เรื่องการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การประหยัดค่าใช้จ่าย และสุขภาพแข็งแรง แต่ไม่สามารถสร้างการรับรู้เรื่องจักรยานมีความสะดวกปลอดภัยและรวดเร็วได้ ดังนั้นจักรยานจึงใช้เพื่อการออกกำลังกาย ความสนุกสนาน และผ่อนคลายเป็นส่วนใหญ่ แต่การใช้จักรยานในกิจกรรมหลักในชีวิตประจำวันมีน้อย เช่น ไปทำธุระ ซื้อของ หรือไปโรงเรียน แม้ว่านักเรียนมีอัตราการใช้จักรยานสูง แต่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งจำเป็นต้องหาแนวทางแก้ปัญหา รูปแบบการสื่อสารมีผลต่อการโน้มน้าวใจในการใช้จักรยานแตกต่างกัน รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการโน้มน้าวใจ ได้แก่ ขั้นการสร้างการรับรู้และการจดจำได้ คือ การใช้จักรยานในชีวิตประจำวันของชุมชน โครงสร้างพื้นฐานงานจักรยาน เช่น เส้นทางจักรยาน ร้านจักรยาน และร้านให้เช่าจักรยาน ขั้นการยอมรับและเห็นด้วยกับสาร คือ การใช้จักรยานของคนในชุมชน การสนับสนุนการใช้จักรยานของผู้ปกครองและเพื่อน และขั้นการยอมรับปฏิบัติ ไม่สามารถสรุปผลได้ว่ารูปแบบการสื่อสารใดมีประสิทธิภาพสูงสุดจากการวิจัยนี้ คำสำคัญ: ประสิทธิภาพของการสื่อสาร การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ การส่งเสริมการใช้จักรยานDownloads
Published
2014-01-31
Issue
Section
บทความวิจัย