The Synthetic Model of Activities to Strengthen the Public Mind the Students' Performance
Abstract
การสังเคราะห์รูปแบบการจัดกิจกรรมในการเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนที่มีประสิทธิภาพAbstract This project aims to synthesize model of activities in enhancing the students' public mind performance. And to study the effects of model activities in strengthening the public mind the students' performance. The sample were 30 teachers and 266 students from the simple randomly sampling. The equipment used test observation and interview. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, protocol analysis and t-test. The results were as follows. 1) The synthesis model activities in strengthening the public mind with the performance of students in basic education. In summary, a total of 6 stages. 2) Effects model of activities in strengthening the public mind with the performance of students : 2.1) The observed features of students in high schools and t-test(t-Paired. Samples) found that the average behavior of the public mind after the event than before the event statistically significant at .01(p < .001**). 2.2) Assessment of the difference between the average feature event after learning of all students in the school often. The statistical t-test(t-Paired. Samples) found that The average behavior of the public mind after the event than before the event statistically significant at .01(p < .001**). and 2.3) average achievement of students in the school has the lowest average 69.21 percent, 69.31 and 78.21 had the highest average. Percent, 89.05, 86.63 and 82.59 by every student to pass the specified criteria. Keywords: Public mind, Synthesize model, Features of students.บทคัดย่อ โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการจัดกิจกรรมในการเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ และเพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมในการเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนจำนวน 30 คนและนักเรียนรวมจำนวน 266 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบทดสอบ แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์โปรโตคอล และการทดสอบที ผลการวิจัยเป็นดังนี้ 1. ผลการสังเคราะห์รูปแบบการจัดกิจกรรมในการเสริมสร้างจิตสาธารณะที่มีประสิทธิภาพของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสรุปรวมได้ 6 ขั้นตอน 2. ผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมในการเสริมสร้างจิตสาธารณะที่มีประสิทธิภาพของนักเรียนพบว่า 2.1) การสังเกตคุณลักษณะของนักเรียนอยู่ในระดับมากทุกโรงเรียนและทดสอบที (t-Paired Samples)พบว่า คะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะหลังจัดกิจกรรมในแต่ละโรงเรียนสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p<.001**) 2.2) การประเมินความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะหลังผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนอยู่ในระดับบ่อยครั้งทุกโรงเรียน และทดสอบสถิติที (t-Paired Samples) พบว่า คะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะหลังจัดกิจกรรมในแต่ละโรงเรียนสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p<.001**) และ 2.3) คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในแต่โรงเรียนได้คะแนนเฉลี่ยต่ำสุดคิดเป็นร้อยละ 69.21, 69.31 และ 78.21 ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 89.05, 86.63 และ 82.59 โดยนักเรียนทุกคนสามารถผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คำสำคัญ: จิตสาธารณะ การสังเคราะห์รูปแบบ คุณลักษณะของนักเรียนDownloads
Published
2014-01-31
Issue
Section
บทความวิจัย