ผลของโปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมที่มีต่อการเพิ่มการยอมรับตนเองของเด็กที่ถูกทารุณกรรม : กรณีศึกษาสถานสงเคราะห์เด็กหญิง จังหวัดอุดรธานี (The Effect of Group Rational Emotive Behavior Therapy in Increasing Self-Acceptance of Abused Children : A Case Study at Udonthani ... )
Authors
อัจฉรา วรรธนานันต์ (Atchara Wattananan)
สุรินทร์ รณเกียรติ (Surin Ronnakiat)
Abstract
Objectives : This study of the effect of Group Rational Emotive Behavior Therapy (REBT) on increasing self-acceptance of abused children participating in Group REBT. The study was a quasiexperimental research with pretest-posttest control group design. Methods : The data were collected from 17 abused children at Udonthani Home for Girls. Instruments used in this study were: the Group REBT program, the Unconditional Self-Acceptance Questionnaire (USAQ) of Chamberlian and the Behavior record of children. The data were analyzed by using statistical methods; percentage, mean, standard deviation and a statistical nonparametric test; a Mann Whitney Test and a Wilcoxon Signed Ranks Test. Tests were run between two groups at pretest and posttest and at four-week follow-up for the treatment group. Results : The results were : the treatment group that participated in Group REBT had statistically significant higher mean scores than the control group at 0.05 level. Also the analysis of the treatment group at pre-test and posttest revealed statistically significant increases in mean scores at .05 level. The analysis of the treatment group at posttest and four-week follow-up were not found to be significantly different. The control group did not have a statistically significant increase in mean score between the pretest, posttest and four-week follow-up. In conclusion, the study indicated that the Group REBT program focused on disputing irrational beliefs along with the process of therapeutic change applying the cognitive-emotive-behavior techniques achieved satisfactory results in changing personality and increasing self-acceptance levels. Key words: group rational emotive behavior therapy, self-acceptance, abused children บทคัดย่อ วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาถึงผลของการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม (Rational Emotive Behavior Therapy) ที่มีต่อการเพิ่มการยอมรับตนเองของเด็กที่ถูกทารุณกรรม ซึ่งเป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบมีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง วิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กที่ถูกทารุณกรรมที่อยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็กหญิง จังหวัดอุดรธานี อายุระหว่าง 12 -15 ปี จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ โปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม แบบวัดการยอมรับตนเองอย่างไม่มีเงื่อนไข (Unconditional Self-Acceptance) ของเชมเบอลิน และแบบบันทึกพฤติกรรมที่เหมาะสม แบ่งการเก็บข้อมูลออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ระยะหลังเข้าร่วมโปรแกรม และระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบ Nonparametric แบบเป็นอิสระต่อกัน และแบบจับคู่ ผลการศึกษา : เด็กถูกทารุณกรรมที่เข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม มีคะแนนการยอมรับตนเองสูงขึ้นภายหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และไม่มีความแตกต่างระหว่างภายหลังการทดลองและระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนการยอมรับตนเองสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล ส่วนกลุ่มควบคุมมีคะแนนทั้งในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผล ไม่แตกต่างกัน สรุปได้ว่า โปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนความเชื่อที่ไร้เหตุผล ประกอบกับหลักกระบวนการเปลี่ยนแปลง โดยใช้เทคนิคผสมผสานทั้งด้านความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม สามารถเพิ่มการยอมรับตนเองของเด็กที่ถูกทารุณกรรมได้ และปรับเปลี่ยนอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กที่ถูกทารุณกรรมให้มีความเหมาะสมมากขึ้นได้ คำสำคัญ: การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม, ยอมรับตนเอง, เด็กที่ถูกทารุณกรรม