การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี จังหวัดเชียงใหม่ (The Development of Causal Structural Model of Environmental Conservation Behavior Influences Quality of Life of Undergraduate, Chiang Mai ... )

Authors

  • วีรวรรณ วงศ์ปิ่นเพ็ชร (Weerawan Wongphinphet)
  • ชลิดา วสุวัต (Chalida Wasuwat)

Abstract

          The main purpose of this research was to develop the causal structural model of environmental conservation behavior influences quality of life of undergraduate, Chiang Mai province. The sample consisted of 800 undergraduates both in government and private university who were randomly selected by stratified random sampling. Questionnaires were used as means of data collection. The LISREL version 8.72 was utilized to analyze the data. The research findings showed that all path coefficients were statistically significant at 0.05 levels. The model’s overall fits were accepted; Chisquare statistics = 90.23, df = 84, p-value = .30; RMSEA = .01; SRMR= 0.032; GFI = .99; AGFI =.97; CN = 1026.16 . In addition to, the results of the study confirmed that good role model on environmental conservation had the most effected on environmental conservation behavior (path coefficient = .80), inferior to attitudes towards environmental conservation, psychological sufficiency, future orientation and self control, and social norm (path coefficient = .46, .25, .21, and .21, respectively). Furthermore, the finding indicated that environmental conservation behavior had direct effected on quality of life (path coefficient = .64).Key words: environmental conservation behavior, quality of life, undergraduate           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน จำนวน 800 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม LISREL Version 8.72 ผลการวิจัยพบว่า โมเดลที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยเส้นอิทธิพลมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกตัวแปร รวมทั้งค่าการทดสอบความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ทุกค่า โดยโมเดลสุดท้ายมีค่าไค-สแควร์ (c2) = 90.23, df = 84, p-value = .30; RMSEA = .01; SRMR = 0.03; GFI = .99; AGFI = .97; และ CN = 1026.16 และพบว่าตัวแปรที่ส่งผลมากที่สุดต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมคือการเห็นแบบอย่างที่เหมาะสม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .80 รองลงมาคือ เจตคติต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จิตพอเพียง ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนและปทัสถานของกลุ่ม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .46, .25, .21 และ .21 ตามลำดับ และพบว่าพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิต โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .64คำสำคัญ: พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, คุณภาพชีวิต, นักศึกษาระดับปริญญาตรี 

Downloads