ผลการฝึกการสร้างสัมพันธภาพตามแนวคิดวิเคราะห์การสื่อสารสัมพันธ์ของอีริค เบิร์น : กรณีศึกษานักเรียนเดินเรือพาณิชย์ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี (The Effects of Eric Berne’s Transactional Analysis Training in Forming Relations: A Case Study of Marine Cadets at Merchant Marine Training Centre)

Authors

  • ฐานิยา ตันตระกูล (Thaniya Thantrakul)
  • สุรินทร์ รณเกียรติ์ (Surin Ronnakiat)

Abstract

          Objectives : The purpose of this research was to study the effects of Eric Berne’s transactional analysis training in forming relations among marine cadets. The study was a quasi – experimental research project using pretest - posttest control group design.          Methods : The data were collected from 20 first year marine cadets at Merchant Marine Training Centre. Instruments used in this study were: the Eric Berne’s transactional analysis training program, the Life Position Scale and the Relations Behavior with Friend Scale. The data were analyzed by using statistical methods; percentage, mean, standard deviation and a statistical nonparametric test; a Mann Whitney Test and a Wilcoxon Signed Ranks Test. Tests were run between two groups at pretest and posttest and at four-week follow-up for the treatment group.           Results : The results were : students in the group who participated in Eric Berne’s transactional analysis training program had statistically significant higher mean scores on the self (I) in life position scale (good level) and mean scores on the relations behavior with friend scale (high level) in the posttest at .01 level and the others in general (U) in life position scale (good level) at .05 level. In the pretest, the treatment group had mean scores on the self (I) and the others in general (U) in life position scale in the bad level and mean scores on the relations behavior with friend scale in the medium level. Also the analysis of the treatment group at the four-week follow-up revealed statistically significant higher mean scores then the others in general (U) in life position scale than the posttest at .05 level. Furthermore they had mean scores on the self (I) in life position scale and mean scores on the relations behavior with friend scale not found to be significantly different. Comparing the two groups at posttest, the treatment group had statistically significant, higher mean scores than the others in general (U) in life position scale and mean scores on the relations behavior with friend scale than the control group at .05 level. But they did not have a statistically significant increase in mean scores on the self (I) in life position scale.          In conclusion, students that participated in Eric Berne’s transactional analysis training program showed changing the self (I) and the others in general (U) in life position scale from bad level to good level and the relations behavior with friend scale from medium level to high level.Key words: relationship , forming relations บทคัดย่อ          วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาผลการฝึกการสร้างสัมพันธภาพตามแนวคิดวิเคราะห์การสื่อสารสัมพันธ์ของอีริค เบิร์น ที่มีต่อการสร้างสัมพันธภาพของนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ ซึ่งเป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง           วิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ชั้นปีที่ 1 หลักสูตรปกติ 5 ปี ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ โปรแกรมการฝึกการสร้างสัมพันธภาพตามแนวคิดวิเคราะห์การสื่อสารสัมพันธภาพของอีริค เบิร์น แบบสอบถามทัศนะชีวิต (A Life Position Scale) และแบบวัดพฤติกรรมสัมพันธภาพกับเพื่อน แบ่งการเก็บข้อมูลออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ระยะหลังเข้าร่วมโปรแกรม และระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบ Nonparametric แบบเป็นอิสระต่อกันและแบบจับคู่          ผลการวิจัย : พบว่านักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกการสร้างสัมพันธภาพตามแนวคิดวิเคราะห์การสื่อสารสัมพันธ์ของอีริค เบิร์น ภายหลังการทดลองมีคะแนนทัศนะชีวิตต่อตนเองและคะแนนพฤติกรรมสัมพันธภาพกับเพื่อนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และคะแนนทัศนะชีวิตต่อผู้อื่นสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีทัศนะชีวิตต่อตนเองและผู้อื่นอยู่ในระดับดี และมีพฤติกรรมสัมพันธภาพกับเพื่อนอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ระยะก่อนการทดลอง กลุ่มทดลองมีทัศนะชีวิตต่อตนเองและผู้อื่นอยู่ในระดับไม่ดี และมีพฤติกรรมสัมพันธภาพกับเพื่อนอยู่ในระดับปานกลาง ในระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ คะแนนทัศนะชีวิตต่อผู้อื่นยังสูงขึ้นกว่าเดิมอีก ส่วนคะแนนทัศนะชีวิตต่อตนเอง และคะแนนพฤติกรรมสัมพันธภาพกับเพื่อนยังคงสูงขึ้นเช่นเดิม เมื่อเปรียบเทียบกับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนทัศนะชีวิตต่อผู้อื่น และคะแนนพฤติกรรมสัมพันธภาพกับเพื่อนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่คะแนนทัศนะชีวิตต่อตนเองไม่แตกต่างกัน          สรุปได้ว่า นักเรียนที่เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกการสร้างสัมพันธภาพตามแนวคิดวิเคราะห์การสื่อสารสัมพันธ์ของอีริค เบิร์น มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องทัศนะชีวิตต่อตนเอง ทัศนะชีวิตต่อผู้อื่น และพฤติกรรมสัมพันธภาพกับเพื่อนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีทัศนะชีวิตต่อตนเองและผู้อื่นเพิ่มขึ้นจากระดับไม่ดีเป็นระดับดี และมีพฤติกรรมสัมพันธภาพกับเพื่อนเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลางเป็นระดับสูงคำสำคัญ: สัมพันธภาพ, การสร้างสัมพันธภาพ 

Downloads