การศึกษาเชิงวิเคราะห์สมดุลชีวิตตามการรับรู้ของข้าราชการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (An Analytical Study of Life Balance as Perceived by Government Officers under the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Social Development and ... )

Authors

  • ขนิษฐา อังกุลดี (Khanittha Ungkundee)
  • ทัศนีย์ นนทะสร (Thasanee Nonthason)

Abstract

          The purposes of this research were 1) to study the relationship between psychological factors including the variables of sufficiency, self control, and time management and life balance as perceived by government officers under the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Social Development and Human Security and 2) to study the psychological factors associated with the variables of sufficiency, self control, and time management for predicting the life balance as perceived by government officers under the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Social Development and Human Security. The subjects were 168 government officers working at central area in 2009. The research instruments were a questionnaire of personal information of the subjects, a life balance scale, a sufficiency scale, a self control scale, and a time management scale. The data were analyzed by percent, mean, standard deviation, Pearson product-moment correlation coefficient and multiple regression analysis.          The research results were as follows:          1. Significant positive relationships were found between the variables of sufficiency, self control, and time management and the life balance at .01 level.          2. It was found that the predictive variables affecting life balance of the government officers were time management and sufficiency at the percentage of 47.0. บทคัดย่อ          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตวิทยา ด้านความพอเพียง ด้านการควบคุมตน และด้านการบริหารเวลา กับสมดุลชีวิตตามการรับรู้ของข้าราชการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ 2) ศึกษาความสามารถในการร่วมกันทำนายของปัจจัยทางจิตวิทยา ด้านความพอเพียง ด้านการควบคุมตน และด้านการบริหารเวลา ที่ส่งผลต่อสมดุลชีวิตตามการรับรู้ของข้าราชการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่ปฏิบัติราชการอยู่ส่วนกลาง ในพ.ศ. 2552 จำนวน 168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของข้าราชการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แบบวัดสมดุลชีวิต แบบวัดความพอเพียง แบบวัดการควบคุมตน และแบบวัดการบริหารเวลา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (percent) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson product-moment correlation coefficient) และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ (multiple regression analysis)           ผลการวิจัยพบว่า          1. ปัจจัยทางจิตวิทยา ด้านความพอเพียง ด้านการควบคุมตน และด้านการบริหารเวลา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมดุลชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01          2. ปัจจัยทางจิตวิทยา ด้านการบริหารเวลา และด้านความพอเพียง สามารถร่วมกันทำนายสมดุลชีวิตของข้าราชการได้ร้อยละ 47.0 

Downloads