การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องจริยธรรมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียน (The Development of Electronic Book Entitled Using Information and Communication Technology Ethics for Students)
Authors
สุชาติ ใจสถาน (Suchart Jaisathan)
Abstract
The purpose of this research were to develop an electronic book entitled using information and communication technology ethics based on good quality, to test for the efficiency of the electronic book, to compare pre and post achievement learning by using electronic book and to study level of students’ satisfaction on electronic book. The samples of this research were 40 mattayomsuksa three students from Mattayomdansamrong School, Samutprakan Province. They were selected by purposive sampling technique. The research instrument were electronic book, evaluation form for electronic book quality, achievement learning test and the questionnaire for students’ satisfaction. The statistical technique employed in the data analysis process were mean, standard deviation (s), E1/E2 formula and t-test for dependent samples. The results of this research were as follows. The quality of electronic book especially in techniques and content were excellent to very excellent level. The efficiency of electronic book met at 80.91/80.75. The achievement learning of students who studied by using electronic book was post-test higher than pre-test significantly at .01 level and the students’ satisfaction on electronic book was at more to most satisfied level. บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องจริยธรรม โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนที่มีคุณภาพ 2) หาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องจริยธรรมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมด่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 40 คน ได้กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องจริยธรรม โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียน แบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านเนื้อหาและด้านเทคนิคการผลิตสื่อ แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องจริยธรรม โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยใช้สูตร E1/E2ทดสอบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องจริยธรรม โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ก่อนและหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้สถิติที (t-test for dependent samples) ผลการวิจัยพบว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขั้น มีคุณภาพด้านเนื้อหา และด้านเทคนิคการผลิตอยู่ในระดับดีถึงดีมาก ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E1/E2) มีค่าเท่ากับ 80.91/80.75 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด