การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยรูปแบบการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา (CLE) กับรูปแบบการสอนแบบพาโนรามา (PANORAMA) (Comparisons of Creative Thinking Abilities and ...)

Authors

  • หทัยทิพย์ ชมภูพื้น (Hathaitip Chompoopuen)
  • สมบัติ ท้ายเรือคำ (Sombat Tayraukham)
  • วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (Wimolrat Soonthornroj)

Abstract

          This study aimed to develop plans for organization of concentrated language encounters (CLE) learning and PANORAMA learning with a required efficiency of 80/80, to find out effectiveness indices of the developed plans for organization of CLE learning and PANORAMA learning and to compare creative thinking abilities and creative writing abilities of the students by using the CLE teaching model and the PANORAMA teaching model. The sample consisted of 48 grade 3 students attending Ban Bakdong School under the office of Si Sa Ket Educational Service Area Zone 4 in the first semester of the academic year 2008, obtained using the purposive sampling technique. They were assigned into Experimental Group 1 with 24 students who learned using CLE learning activities and Experimental Group 2 with 24 students who learned using PANORAMA learning activities. The instruments used in the study were 15 plans for organization of CLE learning in the learning unit on Oh Nature and 11 plans for organization of PANORAMA learning, a scale on creative thinking ability, and a scale on creative writing ability. The statistics used for analyzing the collected data were percentage, mean and standard deviation; and Hotelling’s T2 was employed for testing hypotheses.          The results of the study were as follows. (1) The plans for organization of CLE learning has an efficiency of 86.52/75 and had an effectiveness index of 0.651786. (2) The plans for organization of PANORAMA learning had and efficiency of 82.75/85.83 and had an effectiveness index of 0.602339. (3) The students who learned by organization of learning activities by using the CLE teaching model and those using the PANORAMA teaching model did not show different creative thinking abilities and creative writing abilities. Key words: creative thinking, creative writing, concentrated language encounters teaching, PANORAMA teaching  บทคัดย่อ          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ธรรมชาติเจ้าเอย และแบบพาโนรามา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ธรรมชาติเจ้าเอย ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษาและแบบพาโนรามาที่พัฒนาขึ้น และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนโดยรูปแบบการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษาและรูปแบบพาโนรามา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ธรรมชาติเจ้าเอย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบักดอง อำเภอขุนหาญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีษะเกษ เขต 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 48 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนกลุ่มทดลอง 2 ห้อง ห้องละ 24 คน โดยกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา และกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพาโนรามา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา หน่วยการเรียนรู้ธรรมชาติเจ้าเอย จำนวน 15 แผน 20 ชั่วโมง และแผนการจัดการเรียนรู้แบบพาโนรามา หน่วยการเรียนรู้ธรรมชาติเจ้าเอย จำนวน 11 แผน 22 ชั่วโมง แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 1 ฉบับ ประกอบด้วย 6 ตอน ซึ่งมีค่าความยากตั้งแต่ .25 - .55 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .26 - .79 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .96 และแบบวัดการเขียนเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 1 ฉบับ ประกอบด้วย 3 ตอน ซึ่งมีค่าความยากตั้งแต่ .41 - .59 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ .54 - .57 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .73 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย Hotelling’s T2           ผลการวิจัยปรากฏดังนี้           1.  แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 86.52/83.75 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.651786          2.  แผนการจัดการเรียนรู้แบบพาโนรามา มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.75/85.8 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.602339          3.  นักเรียนที่เรียนโดยรูปแบบการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา (CLE) กับรูปแบบการสอนแบบพาโนรามา (PANORAMA) มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01          4.  นักเรียนที่เรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยรูปแบบการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษาและรูปแบบการสอนแบบพาโนรามา มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ไม่แตกต่างกัน คำสำคัญ: การคิดสร้างสรรค์, การเขียนเชิงสร้างสรรค์, การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา, การสอนแบบพาโนรามา        

Author Biography

หทัยทิพย์ ชมภูพื้น (Hathaitip Chompoopuen)

สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads