การเปรียบเทียบกลวิธีการเล่าเรื่องและอุดมการณ์ที่ปรากฏในวรรณกรรมและภาพยนตร์แบบเรื่อง สโนว์ ไวท์
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบกลวิธีการเล่าเรื่องโดยเน้นที่ผู้เล่าเรื่อง (Narrative technique: Narrator’s Voice) และวิเคราะห์อุดมการณ์ (Ideology) ที่ปรากฏในวรรณกรรมและภาพยนตร์เรื่อง สโนว์ ไวท์ (Snow White) รูปแบบวรรณกรรม 1 สำนวน และดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ 8 สำนวน ผลการวิจัยพบว่ากลวิธีการเล่าเรื่องโดยเน้นที่ผู้เล่าเรื่องใน สโนว์ ไวท์ ทั้ง 9 สำนวน ใช้กลวิธี 3 แบบ ได้แก่ การใช้บุรุษที่ 3 แบบรู้แจ้งเห็นจริงทุกอย่าง (third-Person omniscient narrator) การใช้บุรุษที่ 1 ที่เป็นตัวละครหลัก (first-person character narrator) และการใช้บุรุษที่ 1 ที่เป็นพยาน (first-person witness-narrator) เป็นผู้เล่าเรื่อง มีแนวคิดหลักและแนวคิดรองที่มีร่วมกันคือ ความดีกับความชั่ว (Good vs. Evil) การตามหาตัวตนและการพิสูจน์ตัวเอง (Individual Quest) ในเรื่องอุดมการณ์ (Ideology) นั้นสิ่งที่ปรากฏเป็นลักษณะร่วมและมีความเป็นสากล ได้แก่ เรื่องครอบครัวและความสัมพันธ์ในครอบครัว (Family and Relationships) เพศภาวะ (Gender) การเป็นคู่แข่งทางเพศ (Sexual Rivalry) อำนาจแห่งความงาม (Beauty Myth / Beauty is power) การค้นพบตัวตน (Self-actualization / Self-realization) ความเท่าเทียมกันในสังคม (Human equality) และวัฏจักรชีวิต (Life cycle) คำสำคัญ : สโนว์ ไวท์ นิทานมหัศจรรย์กริมม์ วลาดิมีร์ พรอพพ์ กลวิธีการเล่าเรื่อง แนวคิดหลัก อุดมการณ์ Abstract This study aimed to compare the strategies of the narrative by focusing on the narrator's voice and analysis of Ideologies that appear in Snow White 1 text and 8 films adaptations. The result showed that in 9 versions of Snow White used the narrator's voice in 3 modes include of third-Person omniscient narrator, first-person character narrator and first-person witness-narrator. Moreover the common of main theme and sub theme are Good vs. Evil and Individual Quest respectively. The manifests of the universal Ideologies are Family and Relationships Gender, Sexual Rivalry, Beauty Myth / Beauty is power, Self-actualization / Self-realization, Human equality and Life cycle. Key words: Snow White, Grimm's Fairy Tales, Vladimir Propp, Narrative technique, Theme, IdeologyDownloads
Published
2016-06-13
Issue
Section
บทความวิจัย