การศึกษาการใช้คำเรียกขานของแพทย์ที่ใช้เรียกคนไข้ในการสนทนา

Authors

  • มิณฑิรา จินตกะวงค์
  • ญาณิสา บูรณะชัยทวี

Abstract

บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ 1. เพื่อศึกษารูปแบบของคำเรียกขานที่แพทย์ใช้เรียกคนไข้ในบริบทการสนทนา และ 2. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อการเลือกใช้คำเรียกขานของแพทย์ โดยกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยคือแพทย์เพศชายในหน่วยตรวจหัวใจด้วยเครื่องมือพิเศษ โรงพยาบาลตำรวจที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 30-40 ปี จำนวน 4 คน ที่ทำการสนทนากับคนไข้จำนวนทั้งสิ้น 115 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการบันทึกเสียงการสนทนาระหว่างแพทย์และคนไข้ภายในห้องตรวจ การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์พยาบาลและแพทย์ จากการศึกษาพบโครงสร้างคำเรียกขานทั้งสิ้น 2 โครงสร้างคือโครงสร้างหน่วยเดียวและโครงสร้างหลายหน่วย โครงสร้างหน่วยเดียวพบทั้งสิ้น 4 รูปแบบ คือ 1. คำสรรพนาม/คำนำหน้า 2. คำเรียกญาติ 3. ชื่อ และ 4. คำเรียกอาชีพ และโครงสร้างหลายหน่วยพบทั้งสิ้น 7 รูปแบบคือ 1. คำสรรพนาม/คำนำหน้า+คำเรียกญาติ 2. คำสรรพนาม/คำนำหน้า+ชื่อ 3. คำเรียกญาติ+ชื่อ 4. คำนำหน้า+คำสรรพนาม 5. ยศ+ชื่อ 6. คำสรรพนาม/คำนำหน้า+คำเรียกญาติ+ชื่อ และ 7. คำสรรพนาม/คำนำหน้า+คำเรียกญาติ+ฉายา รวมทั้งสิ้น 11 รูปแบบ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อการเลือกใช้คำเรียกขานของแพทย์พบว่าปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดคือปัจจัยด้านอาชีพ รองลงมาคือปัจจัยอายุ และปัจจัยเพศตามลำดับ จากข้อมูลที่พบแสดงให้เห็นว่าการใช้คำเรียกขานของแพทย์สะท้อนวัฒนธรรม ทำให้เห็นค่านิยมเรื่องอาชีพ อายุ และความสัมพันธ์ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในสังคมไทย   คำสำคัญ : คำเรียกขาน ภาษาของแพทย์ Abstract The main objectives of this research were to study the form of address terms used in conversations between doctors and patients, and to analyze the social factors affecting the usage of doctors’ address terms. The data were collected from conversations of doctors with 115 patients by recording, observing and interviewing. The sample groups were 4 male doctors in the non-invasive cardiac unit (Cardio Clinic) at the Police General Hospital, aged between 30-40 years. Only address terms for patients were studied. It was discovered that address terms comprise 11 patterns, including one-unit and multi-unit structures. The one-unit structure consists of 4 patterns: pronouns/titles, kinship terms, names and occupation titles. In contrast, the multi-unit structures consist of 7 patterns: pronouns/titles+kinship terms, pronouns/titles+names, kinship terms+names, titles+pronouns, ranks+names, pronoun/titles+kinship terms+names and pronouns/titles+kinship terms+alias. The analysis shows that the increasingly significant factors affecting address terms are gender, age, and occupation, respectively. From the analysis, it can be concluded that address terms that doctors use reflect culture and the great importance of occupation, age and relationships in Thai society. Keywords : Address Term, Doctor’s Language  

Downloads

Published

2016-06-13