อิทธิพลของการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนา เจตคติการชื่นชอบหรือรังเกียจกลุ่ม และทักษะชีวิตต่อสุขภาวะทางจิตของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • ชาญ รัตนะพิสิฐ
  • ดร.ชัญญา ลี้ศัตรูพ่าย

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลชองการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนา  เจตคติการชื่นชอบหรือรังเกียจกลุ่ม ทักษะชีวิต ต่อสุขภาวะทางจิต ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 500 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล  2) มาตรวัดทักษะการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนา      3) มาตรวัดเจตคติการชื่นชอบหรือรังเกียจกลุ่ม  4) มาตรวัดทักษะชีวิต  5) มาตรวัดสุขภาวะทางจิต ซึ่งประกอบด้วยมาตรวัดย่อยอีก 3 มาตร คือ มาตรวัดประสบการณ์ทางบวกและประสบการณ์ทางลบ  มาตรวัดความสุขสมบูรณ์ในชีวิต มาตรวัดการคิดเชิงบวก  และ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ด้วยวิธีการ Enter ผลการวิจัย พบว่า การสื่อสารแบบกัลยาณสนทนา  มีความสัมพันธ์ทางบวกกับตัวแปรทักษะชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .61, หนึ่งหาง) และมีความสัมพันธ์ทางบวกกับตัวแปรสุขภาวะทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .80, หนึ่งหาง) นอกจากนี้ยังพบว่าตัวแปรทักษะชีวิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับตัวแปรสุขภาวะทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .67, หนึ่งหาง)  แต่ตัวแปรเจตคติการชื่นชอบหรือรังเกียจกลุ่มนั้นมีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ต่อตัวแปรการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนา (r = -.43, หนึ่งหาง) ทักษะชีวิต (r = -.33, หนึ่งหาง)  และสุขภาวะทางจิต (r = -.42, หนึ่งหาง)  เมื่อวิเคราะห์อิทธิพลของการสื่อสารแบบกัลยาณสนทนา  เจตคติการชื่นชอบหรือรังเกียจกลุ่ม และทักษะชีวิตในการทำนายสุขภาวะทางจิตของเยาวชนวัยรุ่นที่เข้าร่วมโครงการฯ  พบว่าตัวแปรทั้ง 3 มีอิทธิพลสามารถร่วมกันทำนายต่อสุขภาวะทางจิตได้ร้อยละ 69.60 (R2 = .696) โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งพบว่าผลการวิเคราะห์เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ คำสำคัญ : การสื่อสารแบบกัลยาณสนทนา   เจตคติการชื่นชอบหรือรังเกียจกลุ่ม   ทักษะชีวิต    สุขภาวะทางจิตAbstract The objectives of this research were to study: 1) The relationship between Kalayana Dialogue, life skills, and psychological well-being 2) Effects of Kalayana Dialogue and life skills on psychological well-being of Thai university students in Bangkok. Five hundred university students completed Personal data questionnaire, Kalayana Dialogue communication skills scale, Life Skills scale, and Psychological Well-being scales which consisted of three sub scales: Positive and Negative Experience Scale, Flourishing Life Scale, and Positive Thinking Scale. Pearson’s product moment correlation, and Multiple Regression Analysis (Enter method) were used to analyze data. The results of the research showed that: 1) Kalayana Dialogue had significant positive relationship with life skills (r = .61, p < .01) and psychological  well-being (r = .80, p < .01)  while life skills had significant positive relationship with psychological  well-being (r = .67, p < .01), but prejudice variable had significant negative relationship with Kalayana Dialogue (r = -.43, p < .01), life skills (r = -.33, p < .01) and psychological well-being (r = -.42, p < .01)  2)  Multiple Regression  Analysis indicated that Kalayana Dialogue, prejudice, and life skills could significantly predict 69.60%  (R2 = .696; p < .01) psychological well-being of Thai university students in Bangkok. Keywords : Kalayana Dialogue   Prejudice   Life skills   Psychological well-being

Downloads

Published

2016-01-28