ผลกระทบของการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนออกเสียงภาษาอังกฤษต่อความสามารถในการออกเสียงภาษาอังกฤษและทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนิสิตไทยในมหาวิทยาลัย

Authors

  • นราธิป ธรรมวงศา
  • ดร.กันยารัตน์ เกตุขำ

Abstract

บทคัดย่อ จุดประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนออกเสียงภาษาอังกฤษต่อความสามารถในการออกเสียงภาษาอังกฤษและทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนิสิตไทยในมหาวิทยาลัยเริ่มต้นภาคการศึกษาซึ่งประกอบไปด้วย17 สัปดาห์ นิสิต จำนวน 49 คนจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรธที่ลงทะเบียนในรายวิชาสัทธศาสตร์ภาษาอังกฤษ ถูกสุ่มเลือกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม นิสิตในกลุ่มทดลองเรียนออกเสียงภาษาอังกฤษโดยการเรียนผ่านการสอนออกเสียงแบบดั้งเดิมและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนออกเสียงภาษาอังกฤษ ในขณะที่นิสิตในกลุ่มควบคุมนั้นเรียนออกเสียงภาษาอังกฤษโดยการเรียนผ่านการสอนออกเสียงแบบดั้งเดิมเท่านั้น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้ Independent sample t-test เพื่อหาความแตกต่างของความสามารถในการออกเสียงภาษาอังกฤษของนิสิตระหว่าง 2 กลุ่ม และใช้ Pair samples t-test เพื่อหาความแตกต่างของทัศนคติของนิสิตต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนออกเสียงภาษาอังกฤษและทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และใช้ Multiple regressionsเพื่อหาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อทัศนคติของนิสิตต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนออกเสียงภาษาอังกฤษ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลจาก การสัมภาษณ์และบันทึกการเรียนรู้ประจำสัปดาห์ของนิสิต จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า นิสิตในกลุ่มทดลองนั้นสามารถทำคะแนนออกเสียงภาษาอังกฤษได้ดีกว่านิสิตในกลุ่มควบคุมในการสอบเก็บคะแนนหลังการทดลอง การเปรียบเทียบทัศนคติและทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ก่อนและหลังการทดลองพบว่านิสิตมีทัศนคติที่ดีต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนออกเสียงภาษาอังกฤษ และยังมีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้นหลังจากการใช้โปรแกรม ผลวิจัยที่สำคัญในงานวิจัยชิ้นนี้คือการเรียนออกเสียงภาษาอังกฤษโดยการบูรณาการการเรียนผ่านการสอนออกเสียงแบบดั้งเดิมและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนออกเสียงภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งการเขียนบันทึกการเรียนรู้ของนิสิต นั้นช่วยพัฒนาความสามารถในการออกเสียงภาษาอังกฤษและทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนิสิตไทยในมหาวิทยาลัย คำสำคัญ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนออกเสียงภาษาอังกฤษ,ความสามารถในการออกเสียงภาษาอังกฤษ, ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง, ทัศนคติของนิสิต Abstract The purpose of this paper is to investigate the effect of the computer assisted pronunciation learning (CAPL) program on Thai university students’ English pronunciation performance and autonomous learning skill. At the beginning of the semester of 17 weeks, forty nine Srinakharinwirot university students who enrolled in English Phonetics were randomly divided into an experimental group and a control group. Students in the experimental group studied pronunciation through the integration of the traditional teaching style and the CAPL program, while students in the control group learned pronunciation by the traditional teaching style only. An independent sample t-test was utilized to tabulate the significant differences in pronunciation performance between the two groups. Pair samples t-test was used to find significant difference in students’ attitudes toward the CAPL program and autonomous learning skill. Multiple regressions were used to find the factors affecting students’ attitudes toward the CAPL program. Some content analysis techniques were utilized to analyze the data of the semi-structured interview and students’ weekly journal entries. The results show that at the end of the semester, students in the experimental group attained higher scores on the pronunciation proficiency test those in the control group, and students in the experimental group held more positive attitudes toward the CAPL program and gained higher autonomous learning skill. Gender is the only factor affecting students’ attitudes towards the CAPL program. The key finding of this study is that learning pronunciation by integration of the traditional teaching style, CAPL program, and writing weekly journal entries can enhance pronunciation performance and autonomous learning skill of Thai university students. KeywordsComputer assisted pronunciation learning, pronunciation performance, autonomous learning skill, students’ attitudes

Downloads

Published

2015-10-09