การจัดการบริการทางวิชาการแก่สังคมเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ประเทศอาเซียน
Abstract
บทคัดย่อ บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจัดโครงการบริการทางวิชาที่สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมของประเทศอาเซียนในสถาบันการศึกษา และนำเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคม กลุ่มตัวอย่างได้แก่กลุ่มผู้ตอบแบบสำรวจความสนใจในการจัดโครงการ กลุ่มผู้เข้ารับการอบรมโครงการ และกลุ่มวิทยากรของโครงการ เครื่องมือเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามและผลการประชุมกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์แบบสอบถามความสนใจในการจัดโครงการพบว่าความต้องการในการฝึกอบรมอยู่ในระดับปานกลาง ผลจากแบบประเมินโครงการฝึกอบรมพบว่าผู้เข้าอบรมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะจากการประชุมกลุ่มเพื่อพัฒนาการจัดโครงการพบว่าการอบรมบุคคลให้รู้ภาษาอาเซียนเพิ่มมากขึ้นเป็นผลดีต่อบุคคล สังคม และประเทศชาติ การวางแผนพัฒนาการจัดอบรมภาษาอาเซียนควรพิจารณาปัจจัยความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว ธุรกิจการค้า เรียนรู้ภาษาของประเทศที่มีจำนวนผู้พูดมาก เรียนรู้ภาษาของประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย การพัฒนาทุนมนุษย์ด้านอาเซียนต้องมีความชัดเจนในระดับนโยบายและแนวทางการปฏิบัติ คำสำคัญ: อาเซียน, ภาษาและวัฒนธรรม, ทุนมนุษย์ Abstract The purpose of this research article is to analyze the academic services held by an educational institution to develop knowledge and understanding language and culture of ASEAN countries and to find the way of developing the project which was prepared for Thai society. The samples are questionnaire respondents, the project participants and the project lecturers. The research methods and instruments were questionnaires and the result of focus group discussion. The statistics analyses of data are percentages, means and standard deviations. The results found that the respondents are interested in learning ASEAN language at moderate level and the participants’ satisfaction is at a very high level. The suggestion for developing project indicates that human training for ASEAN language knowledge is beneficial for people, society and nation. The plan of ASEAN language training should consider factors of tourism and business relation, and should focus on learning languages which are widely spoken and learning languages of Thailand’s neighboring countries. Keywords: ASEAN, language and culture, human capitalDownloads
Published
2020-02-13
Issue
Section
บทความวิจัย