เปรียบเทียบการตีความสาสนปัฏฐานกับแนวคิดของปอล ริเคอร์
Abstract
บทคัดย่อ บทความเรื่อง เปรียบเทียบการตีความสาสนปัฏฐานกับแนวคิดของปอล ริเคอร์ เป็นบทความจากการศึกษาเชิงเอกสาร เป็นส่วนหนึ่งของดุษฏีนิพนธ์ เรื่อง บูรณาการการตีความหลักสาสนปัฏฐานกับความจริงในเรื่องเล่าของปอล ริเคอร์ สาสนปัฏฐานเน้นการตีความสภาวธรรมที่ปรากฏอยู่ข้างในภาษา เพราะทุกๆ ตัวบทเกี่ยวข้องกับประเด็นทางจริยธรรม และไม่มีความสัมพันธ์กับผู้แต่ง สาสนปัฏฐานยอมรับการการอธิบายความของผู้อ่านในความมุ่งหมายเชิงจริยธรรม ส่วนปอล ริเคอร์ เน้นการตีความซึ่งให้ความสำคัญกับภาษา ตัวบท การอ่านและผู้อ่านในฐานะเป็นตัวบท ผู้วิจัย เห็นว่า การตีความทั้งสองแนวทางควรดำเนินการไปด้วยกัน เพราะว่า เสรีภาพของผู้อ่านแบบริเคอร์ ควรถูกตรวจสอบเกณฑ์ทางจริยธรรมเพื่อความถูกต้อง คำสำคัญ : การตีความ, สาสนปัฏฐาน, การจัดรูป Abstract In this article entitled ‘The Comparison on The Interpretation of the principle of Săsanapaṭṭhăna and Paul Ricoeur’s Concepts’, It is a part of Dissertation of The Integration of Hermeneutics on the principle of Săsanapaṭṭhăna and the Truth of Paul Ricoeur’s Narrative. an attempt was purposely made to critically study the hermeneutical concept of Săsanapaṭṭhăna in Paul Ricouer’s viewpoint. In the study, it was found that while interpreting Săsanapaṭṭhăna lays considerably great emphasis on the principle of nature residing in the language because each text is deeply concerned with morality irrespective of the author. On the one hand, in Săsanapaṭṭhăna the explanation made by the reader aiming at gaining certain moral meanings can be accepted, on the other hand, while interpreting the chief focus on the language, text, reading and the reader as the text is obviously given by Paul Ricouer. In this one, both are inseparably required in the interpretation because such a freedom in the Paul Ricouer’s viewpoint should be subject to moral criteria for its validity. Keywords : Interpretation, Săsanapaṭṭhăna, ConfigurationDownloads
Published
2019-09-05
Issue
Section
บทความวิจัย