รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถเชิงปรัชญาของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในหลักสูตรปรัชญา/ปรัชญาและศาสนา

Authors

  • เพชรวิภา คงอ่ำ

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สภาพการจัดหลักสูตรปรัชญา/ปรัชญาและศาสนาระดับปริญญาบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรดังกล่าวเป็นวิชาเอก (2) วิเคราะห์วิธีการพัฒนาความสามารถเชิงปรัชญาสำหรับนิสิตนักศึกษาหลักสูตรปรัชญา/ปรัชญาและศาสนาระดับปริญญาบัณฑิต (3) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถเชิงปรัชญาของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในหลักสูตรปรัชญา/ปรัชญาและศาสนา และ(4) พัฒนาคู่มือการใช้รูปแบบและแผนการสอนปรัชญาเพื่อพัฒนาความสามารถเชิงปรัชญาสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต หลักสูตรปรัชญา/ปรัชญาและศาสนา  เก็บข้อมูลโดยใช้แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม  แบบสัมภาษณ์  แบบทดสอบ  แบบวัดผลสัมฤทธิ์  และแบบสอบถามความพึงพอใจ  กลุ่มตัวอย่างได้แก่ อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญา/ปรัชญาและศาสนาระดับปริญญาบัณฑิต  นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในหลักสูตรปรัชญา/ปรัชญาและศาสนา ประธานหลักสูตร หรืออาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในหลักสูตรปรัชญา/ปรัชญาและศาสนาระดับปริญญาบัณฑิต  ผู้เชี่ยวชาญด้านปรัชญาและการสอนปรัชญาเพื่อพัฒนาความสามารถเชิงปรัชญา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การวิเคราะห์ค่าที (t-test)  และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1 หลักสูตรปรัชญา/ปรัชญาและศาสนาระดับปริญญาบัณฑิตจากสถาบันอุดมศึกษา 11 แห่งทั่วประเทศ มีการเรียนการสอนปรัชญาสายวิเคราะห์เป็นหลัก  และในหลักสูตรมีการระบุถึงความสามารถเชิงปรัชญาด้านการตีความและวิเคราะห์  การสร้างข้อถกเถียง  การมีความรู้ทางปรัชญาและการรู้จักใช้วิธีการทางปรัชญา  และการสื่อสาร 2 วิธีการพัฒนาความสามารถเชิงปรัชญา สรุปได้ 14 วิธี 3 รูปแบบการเรียนการสอนประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนการสอน 5 กิจกรรม และวิธีการสอน 6 วิธี  4 คู่มือฯ 8 องค์ประกอบ และแผนการสอน คำสำคัญ ความสามารถเชิงปรัชญา  รูปแบบการเรียนการสอน  Abstract The purposes of this research are (1) to analyze the state of the curriculum organization of philosophy/philosophy and religions’ bachelor’s degrees programs in higher education institutions that have offered this area of study as the major subject; (2) to analyze the approaches to develop abilities in doing philosophy of undergraduate students in philosophy/philosophy and religions programs; (3) to develop the instructional model to develop abilities in Doing Philosophy of undergraduate students in philosophy/philosophy and religions programs; and(4) to develop the instructional model handbook and lesson plans. Data was collected using instruments of document analysis forms, questionnaires, interview forms, doing philosophy tests, achievement test, and satisfaction questionnaire. The sample groups were lecturers, students, and curriculum chairs or experts in philosophy/philosophy and religions’ bachelor’s degrees programs, and experts in philosophy or teaching philosophy to develop doing philosophy. Data was analyzed by descriptive statistics including frequency, percentage, average, standard deviation, t-test, and content analysis. The research found that firstly, 11 philosophy/philosophy and religions’ bachelor’s degrees programs all over the country have mainly taught analytic philosophy and there their curriculum as follows: 1 interpretation and analysis            2 argumentation 3 philosophical knowledges and methods 4 communication. Secondly, the way to develop the doing philosophy of undergraduate students in philosophy/philosophy and religions program can be summarized in 14 approaches. Thirdly, the developed instructional model comprises 5 learning activities and 6 teaching approaches. Fourthly, the instructional model handbook consisted of 8 parts and a lesson plans. Keywords : doing philosophy, instructional model

Downloads

Published

2019-06-24