ความฉลาดทางอารมณ์ การอบรมเลี้ยงดู และทัศนคติต่อมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับ การปรับตัวทางสังคมของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบสัมพันธ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการเปรียบเทียบศึกษาความสัมพันธ์ และค้นหาตัวแปรทำนายการปรับตัวทางสังคมของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 โดยใช้ความฉลาดทางอารมณ์ การอบรมเลี้ยงดู และทัศนคติต่อมหาวิทยาลัยในกลุ่มรวมและเมื่อจำแนกตามเพศและกลุ่มสาขาวิชา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 320 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ การทดสอบที การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นิสิตหญิงมีการปรับตัวทางสังคมสูงกว่านิสิตชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่นิสิตที่อยู่กลุ่มสาขาวิชาที่แตกต่างกันมีการปรับตัวไม่แตกต่างกัน 2. ความฉลาดทางอารมณ์ การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล และทัศนคติต่อมหาวิทยาลัย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวทางสังคมของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ยกเว้นการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม มีความสัมพันธ์ทางลบกับการปรับตัวทางสังคมของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ความฉลาดทางอารมณ์ การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน การอบรมเลี้ยงดูแบบมีเหตุผล การอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม และทัศนคติต่อมหาวิทยาลัย สามารถทำนายการปรับตัวทางสังคมของนิสิตได้ร้อยละ 55.3 โดยตัวแปรที่สามารถทำนายการปรับตัวทางสังคมของนิสิตได้สูงสุดและรองลงมา ได้แก่ ความฉลาดทางอารมณ์ ทัศนคติต่อมหาวิทยาลัย และการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน ตามลำดับ คำสำคัญ: ความฉลาดทางอารมณ์ การอบรมเลี้ยงดู ทัศนคติต่อมหาวิทยาลัย การปรับตัวทางสังคม Abstract This study was a correlational comparative study. The purpose of this research was to compare, correlational study and find predictor variable of social adjustment of the first year undergraduate students, focusing on Emotion Quotient, Parenting Style, and Attitude toward university in relation to total participation and classify by genders and fields. The participants in study were 320 first year undergraduate students in second semester academic year 2016, randomly selected via the disproportionately stratified random method. Statistic was analyzed using T-test, Pearson’s Correlation Coefficient and multiple regression analysis. Results of the research as follows: 1. Female students were found to have more social adjustment that male students was statistically at the .05 level while different fields had been not found differentiate in social adjustment. 2. Emotion Quotient variable, Love-Supportive parenting style and Reasoning parenting style and Attitude toward university variable were found that to correlated positively with social adjustment ability at the significance level of .05. However, Controlled parenting style were correlated negatively with social adjustment ability at the significance level of .05. 3. Emotion Quotient, Love-Supportive parenting style Reasoning parenting style Controlled parenting style and Attitude toward university were found to predict 55.3 percent of the first year university students’ social adjustment ability, with Emotion Quotient as the strongest predictor, followed by Attitude toward university and Love-Supportive parenting style. Keywords: Emotion Quotient, Parenting Style, Attitude toward University, Social AdjustmentDownloads
Published
2019-06-18
Issue
Section
บทความวิจัย