การพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบเพลินเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ และรักในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์โดยกระบวนการเรียนรู้แบบเพลิน ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ70 ที่ได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ70 2) ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ โดยกระบวนการเรียนรู้แบบเพลิน และ 3) ศึกษารักในการเรียนรู้ โดยกระบวนการเรียนรู้แบบเพลิน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล มี 4 แบบ ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 2) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมรักในการเรียนรู้ และ4) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับความสุขในการเรียนรู้ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แยกเป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ในเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มเป้าหมายร้อยละ77.78 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่าร้อยละ70 โดยทำแบบทดสอบได้คะแนนตั้งแต่ 18 -25 คะแนน 2) กลุ่มเป้าหมายมีความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์รวม 3 องค์ประกอบอยู่ในระดับยอดเยี่ยม ( = 13.00 , S.D. = 4.11 ) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของแต่ละองค์ประกอบกลับพบว่าอยู่ในระดับแตกต่างกัน กล่าวคือ มีความคิดยืดหยุ่นอยู่ในระดับมาก ( = 2.34 , S.D. = 0.86 ) รองลงมามีความคิดคล่องอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.14 , S.D. = 0.84 ) และความคิดริเริ่มอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.09 , S.D. = 0.73 ) ตามลำดับ และ3) กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมรักในการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 2.86 ,S.D. = 0.31 ) และค่าเฉลี่ยทุกประเด็นก็อยู่ในระดับมากเช่นกัน เมื่อเรียงค่าเฉลี่ย 3 ประเด็นแรก ได้แก่ มีความสนุกสนานในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหา ( = 2.93 , S.D. = 0.26 ) ซึ่งเท่ากับ ความกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน รองลงมา ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่มจนสำเร็จตามเป้าหมาย ( = 2.91 , S.D. = 0.29 ) ตามลำดับ และกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่มีความสุขในการเรียนรู้ พิจารณาตามองค์ประกอบใน 3 ปัจจัย พบว่า ปัจจัยแรก มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมในกระบวนการเรียนรู้ ใน 3 ประเด็นแรก ที่กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจทุกคนคิดเป็นร้อยละร้อย ได้แก่ ได้คิด ได้เขียน ได้พูด ได้ฟังครูและเพื่อนๆ ได้เคลื่อนไหวร่างกาย และได้เล่นเกมที่ได้ใช้สาระความรู้ที่เรียนโดยตรง ปัจจัยที่สอง มีความพึงพอใจต่อการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับเพื่อนๆ ใน 3 ประเด็นแรก ได้แก่ การช่วยเหลือของเพื่อนในกลุ่มคิดเป็นร้อยละ 88.89 รองลงมา มีสองประเด็นที่มีจำนวนเท่ากันคิดเป็นร้อยละ 77.78 คือ ได้เรียนรู้นิสัยของเพื่อนแต่ละคน และความสามัคคีของเพื่อนในกลุ่ม ตามลำดับ และปัจจัยสุดท้าย มีความพึงพอใจต่อการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ใน 3 ประเด็นแรก พบว่า ทุกประเด็นกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจทุกคนคิดเป็นร้อยละร้อย ได้แก่ ครูอธิบายชัดเจนเข้าใจง่าย เมื่อซักถามครูก็ตั้งใจฟังและอธิบายให้เข้าใจยิ่งขึ้น และครูรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนทุกคนและทุกเรื่องอย่างใส่ใจ แสดงว่า กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่รักในการเรียนรู้ ซึ่งสะท้อนจากพฤติกรรมรักในการเรียนรู้และความสุขในการเรียนรู้ คำสำคัญ : กระบวนการเรียนรู้แบบเพลิน ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ รักในการเรียนรู้ Abstract This research aimed 1) to improve Mathematical achievement no less than 70 percent of students acquire mean achievement more than 70 percent ; 2) to study the Mathematical creativity and 3) to study passion for learning. This study was pre-experimental of one shot case study design. The target group consisted of 9 grade 2 students. The instruments of data collected were used 1) Mathematics achievement test 2) Mathematical creativity assessment form 3) students’ behavior of passion for learning observation form and 4) happiness for learning interview form. And then the quantity data were analyzed by using frequency , percentage , mean and standard deviation and the qualitative data with content analysis techniques. The results were as follows : 1) About 77.78 percent of target group were Mathematical achievement could passed at least 70 percent criterion reached from 18 to 25 of Mathematical achievement scores. 2) Overall of three factors of Mathematical creativity at an excellent level ( = 13.00 , S.D. = 4.11 ) however, considered means each factor was found at different levels, that was flexibility at a high level ( = 2.34 , S.D. = 0.86 ) followed by fluency at a medium level ( = 2.14 , S.D. = 0.84 ) and originality at a medium level ( = 2.09 , S.D. = 0.73 ) respectively. And 3) Overall of behavior of passion for learning at a high level ( = 2.86 ,S.D. = 0.31 ) and means of all issues in behavior of passion for learning at a high level as well, when sorted by top 3 issues, that were found fun to finding answers of problems ( = 2.93 , S.D. = 0.26 ) which was equal to the issue enthusiasm for joined learning activities followed by give collaboration for team work to accomplishment ( = 2.91 , S.D. = 0.29 ) respectively. As well as the majority of the target group were happy for learning, which considered to consist of three factors, first factor that were found satisfied with the instructional activity in the learning process sorted by top 3 issues, which were found to be 100 percent of target group as could thought, wrote, spoke listened to teacher and friends , could body movement and could played games that used the knowledge on directly learned. Second factor as satisfied with the interaction between student and friends sorted by top 3 issues, which was found to be 88.89 percent of target group as the helped of friends, followed by there were found 2 issue as equal were 77.78 percent of target group as learned the habits each other and unity of team work respectively. And the last factor as satisfied with the interaction between the teacher and the students sorted by top 3 issues, which were found to be 100 percent of target group as the teacher explained clearly and understand easily , when asked the teacher attention to listen and explain more clearly and the teacher attention to listen to the opinions of all students and all matters. That were shown that the majority of the target group were passion for learning which had reflected from behavior of passion for learning and happy for learning. Keywords : Plearn Approach, Mathematical Creativity, Passion for LearningDownloads
Published
2019-12-26
Issue
Section
Academic Articles