การพัฒนาหนังสือดิจิทัลร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน เรื่อง แนวคิดเชิงวัตถุ เพื่อส่งเสริมความสามารถการวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความสามารถการวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุสำหรับนักศึกษาที่มีพื้นฐานน้อย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพของหนังสือดิจิทัลร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน 2) เพื่อหาผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสื่อหนังสือดิจิทัลร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน 3) เพื่อประเมินความสามารถการวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุของนักศึกษา 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก (Simple Random Sampling) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples) ค่าความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนก ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพของสื่อหนังสือดิจิทัลร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 6 ท่าน พบว่า คุณภาพด้านเนื้อหาร่วมกันกับด้านการเรียนรู้แบบผสมผสาน มีค่าเฉลี่ยคือ 4.56 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 0.51 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก และ คุณภาพด้านสื่อ มีค่าเฉลี่ย คือ 4.70 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 0.29 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยสื่อหนังสือดิจิทัลร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน นักศึกษามีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการประเมินความสามารถการวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุนักศึกษามีความสามารถเฉลี่ยภาพรวม คือ 2.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 0.50 อยู่ในระดับดี และ 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อหนังสือดิจิทัลร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน มีค่าเฉลี่ย คือ 4.28 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 0.61 อยู่ในระดับมาก คำสำคัญ: หนังสือดิจิทัล, การเรียนรู้แบบผสมผสาน, แนวคิดเชิงวัตถุ, ความสามารถการวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุDownloads
Published
2018-11-06
Issue
Section
Academic Articles