ภาษาไต: ภาษาตระกูลไทในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
Abstract
บทคัดย่อ จากการศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาวไท พบว่า มีชาวเผ่าไทอาศัยอยู่ในหลายพื้นที่ ซึ่งนอกจากในพื้นที่ประเทศไทยที่มีความชัดเจนที่สุดแล้ว ยังพบว่ามีกลุ่มคนที่เป็นเครือญาติกับชาวไทอาศัยอยู่ในหลายพื้นที่ของประเทศต่างๆ ในแถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักวิชาการทางภาษาศาสตร์ใช้ชื่อเรียกคนไทที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยว่า “ไท” ชาวไทในสาธารณรัฐประชาชนจีนมีถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่ในเขตปกครองตนเองเผ่าไตสิบสองปันนา (西双版纳Xīshuānɡbǎnnà) และเขตปกครองตนเองเผ่าไตเผ่าจิ่งโพ (景颇族自治区Jǐnɡpō Zúzìzhìqū) เรียกตัวเองว่า “ไต” มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาวไทในพื้นที่ต่างๆ นักวิชาการบางกระแสมีความเห็นว่าชาวไทกลุ่มนี้นี่เองที่เป็นจุดกำเนิดของเผ่าพันธุ์ตระกูลไท บทความนี้ผู้เขียนได้เรียบเรียงขึ้นโดยอาศัยข้อมูลพื้นฐานจากข้อเขียนของนักวิชาการฝ่ายจีน มุ่งนำเสนอข้อมูลทางภาษาเป็นหลัก แบ่งเป็น 1) ข้อมูลสังเขปเกี่ยวกับถิ่นที่อยู่และประวัติศาสตร์ 2) ข้อมูลทางภาษา มีรายละเอียดที่สำคัญสามเรื่อง คือ ระบบเสียง วงคำศัพท์ และระบบไวยากรณ์ และ 3) อักษรภาษาไต ผลที่ได้จากบทความนี้ทำให้เรามองเห็นร่อยรอยความสัมพันธ์ของภาษาตระกูลไทกับภาษาจีน ในฐานะสมาชิกของตระกูลภาษาจีน – ทิเบตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น คำสำคัญ: ภาษาไท, ภาษาไต, ภาษาตระกูลไท, ภาษาไตลื้อ, สิบสองปันนา Abstract According to the historical study of Tai tribes, it was found that Tai tribes live in various areas. Besides Thailand, the most obvious residential area for Thai tribes’ relatives, the study indicated that the relatives of Thai tribes also live in other places in various countries in Southeast Asia. Linguists called people who do not live in Thailand “Tai”. Tais who live in Xishuangbannaautonomous region and Jingpoautonomous region of China have a close relationship with other Tai people in other countries. Some researchers agree that Tais can be the origins of the Tai tribe family. This paper presents the ethnicity of Tai tribes living in Xishuangbanna. The key issues that will be mentioned in the paper include: 1) the residential areas and history information; 2) Tai linguistic information which consist of Tai phonology, Tai lexicology, and syntax; and 3) Tai script. The results obtained from this article will be useful for a discussion of the relationship of Tai language which is a member of Sino – Tibetan language family. Keywords: Tai language, Dai language, Tai language family, Dai Lue language, XishuangbannaDownloads
Published
2015-10-09
Issue
Section
บทความวิชาการ