อุปลักษณ์มโนทัศน์ “ความฝันจีนเป็นการเดินทาง” : มุมมองทางปริชาน Conceptual Metaphor “CHINESE DREAM IS A JOURNEY” : A Cognitive Perspective

Authors

  • Yao Siqi

Abstract

Abstract The Journey Metaphor, as a type of metaphor, is frequently employed in political discourse, namely, politicians usually selected words and expressions from one semantic domain “Journey” to describe politics that, to some extent, as an abstract concept. This article aims to investigate “CHINESE DREAM IS A JOURNEY” conceptual metaphor to help people understand the abstract concept “CHINESE DREAM” in terms of a more concrete concept “JOURNEY” from the perspective of cognitive linguistics within the theoretical framework of Conceptual Metaphor Theory. Data was derived from the official reports and important speeches delivered by Xi Jinping, President of the People's Republic of China, from November 15th 2012 to June 13th 2014. Results were that 67 linguistics expressions of journey metaphors occurred, referring to tourists, starting points, journeys and destinations. Mapping from the source domain “JOURNEY” to the target domain “CHINESE DREAM” was possible due to the existence of characteristic similarities between these two concepts. In addition, using metaphorical linguistics expressions to talk about the “Chinese Dream” in political discourse reflected underlying cognitive systems of the metaphor “CHINESE DREAM IS A JOURNEY”, making abstract ideas more concrete and effectively persuading listeners to follow the ideas of the language users. Keywords : “CHINESE DREAM IS A JOURNEY”, conceptual metaphor, culture and society บทคัดย่อ อุปลักษณ์การเดินทางเป็นลักษณะการใช้ภาษาที่พบบ่อยในวาทกรรมการเมือง ซึ่งผู้ใช้ภาษามักจะนำคำหรือกลุ่มคำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับการเดินทางมาใช้ในบริบททางการเมือง เพื่ออธิบายถึงมโนทัศน์ที่เป็นนามธรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งศึกษาอุปลักษณ์การเดินทางกับ “ความฝันจีน” จากวาทกรรมทางการเมืองที่ประธานาธิบดีจีน     สีจิ้นผิงใช้ในวาทะสำคัญต่างๆ ระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 จนถึงวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 2014 จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า อุปลักษณ์มโนทัศน์ “ความฝันจีนเป็นการเดินทาง” นั้นแสดงมาจากการที่ผู้พูดได้นำรูปภาษาที่เป็นอุปลักษณ์การเดินทางมาใช้กล่าวถึง “ความฝันจีน” มีจำนวนทั้งสิ้น 67 ข้อความ ส่วนรูปภาษาที่เป็นอุปลักษณ์การเดินทางดังกล่าวสามารถจำแนกประเภทตามองค์ประกอบทางความหมายได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ผู้เดินทาง จุดเริ่มต้น กระบวนการเดินทาง และจุดหมายปลายทาง การนำเอาอุปลักษณ์การเดินทางมาเปรียบเทียบกับ “ความฝันจีน” ในที่นี้เกิดจากกระบวนการถ่ายโยงทางความหมายจากมโนทัศน์ต้นทาง “การเดินทาง” ไปยังมโนทัศน์ปลายทาง “ความฝันจีน” ทั้งนี้ไม่เพียงแต่สะท้อนให้เห็นว่าผู้ใช้ภาษามีมโนทัศน์เกี่ยวกับ “ความฝันจีน” เสมือนเป็นการเดินทางเท่านั้น ขณะเดียวกันอุปลักษณ์มโนทัศน์ที่ผู้พูดภาษาใช้นี้ยังช่วยถ่ายทอดความคิดเชิงนามธรรมให้เป็นรูปธรรม รวมทั้งเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยโน้มน้าวประชาชนจีนทุกคนให้คล้อยตามความคิดของผู้ใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำสำคัญ “ความฝันจีนเป็นการเดินทาง” อุปลักษณ์มโนทัศน์ สังคมและวัฒนธรรม 

Downloads

Published

2018-11-13